องค์ประกอบของรัฐ ๔ อย่าง
๑ อาณาเขต คือ ดินแดน จะเป็นเกาะก็ได้
๒ พลเมือง
๓ อำนาจรัฐ คือ อำนาจที่ไม่ได้รับถ่ายทอดมาจากอำนาจอื่น
๔ เอกภาพ คือ ศูนย์รวมในทางจิตใจ รัฐอาจรวมกันเป็น สหพันธ์ แล้วกลายเป็นมลรัฐ รัฐก็จะสิ้นความเป็นรัฐไป ถ้ายกเลิกสหพันธ์ ก็กลับเป็นรัฐดังเดิมได้ การตียึดรัฐอื่น แล้วรวมดินแดนไม่ถือว่าสิ้นความเป็นรัฐ(เพราะผิดกฏหมาย รว.ปท.) เยอรมันแพ้สงครามโลก ๒ ถูกยึดครองโดยหลายประเทศ ก็ไม่สิ้นความเป็นรัฐ
ระบอบการปกครอง ยังเปลี่ยนไปมาระหว่าง ปชต กับ เผด็จการ ผู้ที่เป็นศัตรูกับระบอบที่ครองอำนาจอยู่เรียกว่า นักปฏิวัติ และแนวคิดต้องผิดกฏหมายเสมอ ปฏิวัติจะประสงค์เปลี่ยนเป็นระบอบใหม่ ที่ยังไม่เคยใช้มาก่อน หรือ ระบอบโบราณก็ได้ ปัจจุบัน ใช้ก่อการร้ายเพื่อนำไปสู่การปฏิวัติ เช่น ก่อม๊อบทำลายบ้านเมือง ลอบฆ่าผู้นำ ขับเครื่องบินชนตึก เน้นที่สร้างความหลาวกลัว
กฏหมายมหาชน คือ กฏหมายรักษาผลประโยชน์ของสาธารณะ (กม เอกชน รักษา ผล ปย เอกชน) เช่นกฏหมายแรงงาน คุ้มครองลูกจ้างมิให้โดนเอาเปรียบโดยนายจ้าง รัฐสวัสดิการเน้นกฏหมายมหาชน(แทรกแซง อ้างว่ามิให้ผู้ใหญ่รังแกเด็ก) ทุนนิยม เน้นกฏหมายเอกชน (ไม่แทรกแซง เชื่อกลไกตลาด)
ประชาธิปไตย เชื่อ ๓ อย่าง คือ ๑ อำนาจมาจาก ปชช ๒ เลือกตั้งดีกว่าแต่งตั้ง เลือกตั้งบกพร่องก็แก้ไขไปเรื่อยๆ ๓ พลเมืองเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองได้ ทั้งเลือกตั้ง และ ลงสมัครรับเลือกตั้ง
ปชต. มี ๖ รูปแบบ คือ
๑ แบบทองถิ่นสวิสเซอร์แลนด์ พลเมืองประชุมกัน ร่วมกันวางนโยบาย ไม่มีแบ่งนิติบญ บริหาร ตุลาการชัดเจน
๒ สมัชชา พลเมืองเลือกสมัชชามาตรากฏหมายแล้วให้มีอำนาจเหนือฝ่ายบริหาร สุดท้ายนำไปสู่เผด็จการ
๓ คณะผู้อำนวยการในประเทศสวิสซ์ฯ สภาไม่สามารถลงมติไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารก็ไม่มีสิทธิยุบสภา ฝ่าบบริหารจึงเข้มแข้ง
๔ รัฐสภา สภากับฝ่ายบริหาร จะมีอำนาจเหนือกันไม่ได้เลย มีลักษณะ ๖ ดังนี้
๑ ฝ่ายบริหาร(รัฐมนตรี) ต้องมาจากสมาชิกสภา เพื่อให้สภาควบคุมฝ่ายบริหารซึ่งเป็นคนของสภาได้ (ที่ว่าห้าม รมต. มาจาก สส. ย่อมไม่สอดคล้องหลักนี้)
๒ รัฐบาลมาจากผู้นำพรรคที่กุมเสียงข้างมากในสภา
๓ นายก รมต.มีอำนาจเหนือ รมต.
๔ รัฐบาลต้องได้รับการสนับสนุนจากเสียงข้างมากในสภา
๕ รัฐบาลวางนโยบาย สภานำนโยบายมาออกกฏหมาย
๖ มีฝ่ายค้านบอกว่ารัฐบาลผิดตลอดเวลา ถ้าสภาว่ารัฐบาลผิด(ไม่ไว้วางใจ) รัฐบาลต้องลาออก ให้ ปชช เลือกตั้งใหม่เพื่อตัดสินว่าใครถูก แต่รัฐบาลจะชิงยุบสภา เพื่อให้เลือกตั้งใหม่ ก็ได้ (เหตุนี้ บริารถือไพ่เหนือว่าสภา)
๕ แบบ ครม.อังกฤษ มีลักษณะ ๖ คือ
๑ มีพรรคการเมือง สองพรรค มีโอกาสเป็นเสียงข้างมากในสภา พอๆกัน
๒ ผู้นำพรรคกุมเสียงข้างมากได้เป็นนายก
๓ รัฐบาลต้องมาจากสมาชิกสภาด้วย
๔ ถ้ารัฐบาล ร่างกฏหมายแล้ว สภาไม่รับร่าง รัฐบาลต้องยุบสภาเพื่อให้ ปชช ตัดสินว่าใครถูก
๕ สภาตั้งกระทู้ถามรัฐบาลเสมอๆ เพื่อควบคุมรัฐบาล แต่ถ้ายิ่งตี คะแนนนิยมรัฐบาลยิ่งเพิ่ม รัฐบาลจะยุบสภาเพื่อให้ตนเป็นรัฐบาลอีกวาระก็ได้
๖ สมัครรับเลือกตั้ง ต้องมีพรรคการเมือง และต้องซื่อสัตยืต่อพรรค
๖ ปธน. เชื่อว่า ใครมีอำนาจก็บ้าอำนาจได้ง่ายๆ เป็นเผด็จการ และคุกคาม ปชช ในที่สุด จึงต้องแบ่งแยกอำนาจแก่หลายฝ่าย เน้นถ่วงดุล ยับยั้งกันได้เสมอ เช่น สภาออกกฏหมาย ปธน ไม่เซ็น เพื่อถ่วงเวลาร่าง กม ได้ สภา ต้องย้อนไปเอามติ ๒ ใน ๓ ก็สามารถปะกาสใช้กฏหมายได้ ถ้า ปธน ไปทำสนธิสัญญา รว.ปท. สภาเลือกจะสัตยาบันได้ ถ้า ปธน เสนอชื่อ ขรก.ผู้ใหญ่ สภาก็เลือกเห็นชอบได้ สภาพิจารณางบประมาณ ปธน.จึงเกรงใจสภา เพราะนโยบายเดินด้วยเงิน แต่สภาไม่มีสิทธิถอดถอน ปธน.เว้นแต่ีการฟ้องร้อง ปธน.ก็ไม่มีอำนาจยุบสภา
เนื้อหาของนิติรัฐ ๓ คือ
๑ หลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐาน ปชช
๒ หลักความพอสมควรแก่เหตุ
๓ ชดเชยความเสียหายของ ปชช จากการกระทำอันมิชอบของรัฐ
แบ่งแยกอำนาจ ๓ คือ
๑ นิติ บญ (สภาผู้แทนราษฏร์+วุฒิสภา)
๒ บริหารตาม กม.(รัฐบาล+ ขรก ประจำ)
๓ พิพากษา (ศาล) ฝ่ายบริหารออก กม.ได้ในเรื่องที่ไม่สำคัญ ถ้ากระทบสังคม ศก. ต้องให้ สภาออก กม. /กม.ที่ว่า ให้เวนคืนที่ดินได้ตามความเหนของรัฐบาล ไม่ชอบด้วยหลักการแยกอำนาจเพราะ กม.กระทบสิทธิ ปชช ต้องพิจารณาถี่ถ้วนโดยสภาเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น